Thursday, August 21, 2008

After shock ที่ราชพัสดุ ดอยหล่อ


หลังจากที่มีมติ ครม 10 มิถุนายน 2551 โดยมีเรื่องที่สำคัญหลายเรื่องแต่เรื่องที่หยิบยกมาเป็นประเด็นมากที่สุดคือ เรื่องการเรียกคืนที่ราชพัสดุ 1 ล้านไร่เพื่อนำมาจัดสรรที่ดินให้คนจน ที่สำคัญจุดประสงค์คือเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องวิกฤติพลังงานและวิกฤติอาหาร ซึ่งก็มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ออกมาแสดงทัศนะต่างๆนานา โดยผู้ที่เห็นด้วยส่วนใหญ่ก็บอกว่า โครงการนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรได้และที่สำคัญเราจะได้ พื้นที่ในการปลูกพืชพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น แสดงว่าจะช่วยให้เรามาทางเลือกในการใช้พลังงานที่ถูกลงไม่ต้องหวังพึ่งพลังงานจากซากฟอสซิลอย่างเดียว

แต่ผู้ไม่เห็นด้วยกลับโต้แย้งว่า ถ้ามันเป็นอย่างนั้นมันก็ดี แต่นี่ที่1ล้านไร่ที่คุณตั้งเป้าหมายเอาไว้มันมีบทเรียนความล้มเหลวมาแล้วและที่สำคัญในครั้งนี้มันมีเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวมากกว่าดิมอีก เช่น จัดสรรให้ ครอบครัวละ 10-15 ไร่ ซึ่งอาจจะให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่มีโอกาสตรงนี้ดวยทั้งนี้เพื่อจะได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งตรงนี้เป็นข้ออ่อนที่สำคัญและเป็นเป้าของการโจมตีของกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่าที่ราชพัสดุเป็นที่ของหลวงเป็นที่ของคนทั้งประเทศแต่คุณจะนำมาจัดให้กลุ่มทุนมันสมควรแล้วหรือ

การเคลื่อนไหวที่ชัดเจนที่สุด ในเรื่องนี้น่าจะอยู่ที่ภาคเหนือ คือวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายปฏิรูปที่ดินโยชุมชนภาคเหนือ เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์คือ ขอให้มีการทบทวนเรื่องการเรียกคืนที่ราชพัสดุ1ล้านไร่เพื่อนำมาจัดสรรให้คนจน โดยยกกรณีตัวอย่างที่ราชพัสดุที่เคยมีการจัดสรรให้ชาวบ้านใน อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ มาเป็นไฮไลท์ หลังจากนั้นก็มีอาฟเตอร์ซ็อกตามมามากมาย

เริ่มตั้งแต่ การมีบทความของนักวิชาการ บทความของผู้ที่คลุกคลีในพื้นที่ที่เคยมีการจัดสรร สำนักข่าวในท้องถิ่น รวมทั้งมีการปล่อยข่าวในระดับท้องถิ่นเป็นระยะๆ

แต่อาฟเตอร์ซ๊อก ที่น่าจะเป็นกังวลที่สุดคือการปล่อยข่าวในพื้นที่ หลังจากที่เป็นข่าว ทำให้อ.ดอยหล่อมีชื่อเสียอย่างมาก รวมทั้งมีการพาดพิงนายทุนในพื้นที่ทำให้ผู้เสียประโยชน์ตามมา สุดท้ายปล่อยข่าวในเชิงข่มขู่ว่าจะเก็บคนที่เป็นแหล่งข่าว

บอกได้คำเดียวว่า ซวยครับ ชาวบ้านคนที่ให้ข่าวน่ะซวย เข้าทำนองที่ว่าแก่วงเท้าหน้าเสี้ยน เพราะขณะนี้นายทุนกำลังสืบหาตัวอยู่ แต่ผมคิดว่าเขารู้แล้วว่าเป็นใคร เพราะนายทุนก็คนในพื้นที่ ชาวบ้านที่ให้ข่าวก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ต่างคนต่างรู้กัน รอดูแค่ว่าภายหลังการยื่นหนังสือ แล้วทางรัฐจะมีมาตรการอย่างไร กับพื้นที่ ถ้าเกิดมาตรการอย่างไรอย่างหนึ่งขึ้นมาเช่นมีการตรวจสอบพื้นที่อย่างจริงจังหรือไม่ หรือไม่ก็อาจจะเพิกถอนสิทธิ์ในที่ดินของนายทุนในพื้นที่ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ผมว่านอกจาก ชาวบ้านจะซวยแล้วผมว่ากรรมตกไปอยู่ที่ชาวบ้านแน่ นายทุนคงต้องทำอะไรซักอย่างกับชาวบ้านแน่นอน เพราพหากเป็นอย่างนั้นจริงนายทุนเหล่านั่นเสียประโยชน์ไปเหล่าไหร่ล่ะ

แม้ว่าจะเป็นเพียงการปล่อยข่าว ก็ทำให้ชาวบ้านเสียขวัญพอสมควร แล้วชาวบ้านคนที่ให้ข่าวจะได้อะไรล่ะ เงินก็ไม่ได้ กล่องก็ไม่ได้ ดีไม่ดีจะได้ลูกตะกั่ว พวงหรีด หนังสือประวัติหรือไม่ก็บทกวีสรรเสริญมอบให้ในวาระสุดท้าย ซึ่งคงไม่มีใครอยากได้เท่าไหร่หรอก

ผมว่านี่เป็นafter shock อีกอย่างที่น่าติดตามนอกจากในเชิงนโยบาย

No comments: