เป็นเวลากว่า 3 ปีแล้วที่มีการจัดสรรที่ราชพัสดุให้กับชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินทำกินโดยเป็นนโยบายที่ทำต่อเนื่องจากนโยบายแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนแบบบูรณาการสมัยอดีตนายกรัฐมานตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ตั้งเป้าไว้ในสมัยที่ยังคงเป็นรัฐบาลในปี 2547 ว่าจะทำให้คนจนหมดไปในปี 2552 แล้วเริ่มโครงการต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารหมู่บ้าน 30 บาทรักษาทุกโรค หรือบ้านเอื้ออาทรเป็นต้น ซึ่งนักวิชาการเรียก นโยบายซึ่งเป็นที่มาของโครงการเหล่านี้ว่า นโยบายประชานิยมโดยใช้ความต้องการพื้นฐานของชาวบ้านเป็นตัวตั้งเพื่อซื้อใจชาวบ้านโดยไม่คำนึงผลที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวหรือผลสำเร็จได้จริง
โครงการจัดสรรที่ทำกินให้กับชาวบ้านเริ่มต้นโดยการ 1. ให้ชาวบ้านลงทะเบียนความเดือดร้อน จากนั้น2.แยกประเด็นปัญหาความเดือดร้อนในแต่ละประเด็น 3.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ 4.ดำเนินการแก้ไขปัญหา
ต้องการที่จะทำการแก้ไขปัญหาที่ดิน โดยใช้โครงการจัดสรรพื้นที่ราชพัสดุที่กิ่ง ดอยหล่อในจังหวัดเชียงใหม่เป็นต้นแบบ โดยวัตถุประสงค์ หลักการ เป้าหมายและยุทธศาสตร์การทำงาน ผมศึกษาดูผมว่าดีมากและผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่เท่าที่ผมติดตามทั้งในระดับพื้นที่และในทางข้อมูลข่าวสารผมว่ามันล้มเหลว ไม่เป็นท่าเลย ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ผิดหลักการ เป้าหมายได้เฉพาะในเชิงปริมาณและพื้นที่ คุณภาพไม่ได้เลย ยุทศาสตร์การทำงานล้มเหลว ซึ่งผมพอจะลำดับเหตุการณ์คร่าวๆได้คือ
โครงการนี้ หลังจากที่มีชาวบ้านลงทะเบียนแก้จนที่อำเภอ แล้วทางอำเภอ ก็แยกประเด็นที่ดินออกมา จากนั้น ส่งข้อมูลผู้ที่มีปํญหาเรื่องที่ดินทำกินให้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้คัดเลือก ผู่ที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมที่จะได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน ผ่านการประชาคมหมู่บ้าน จากนั้นส่งข้อมูลผู้ที่สมควรได้รับกลับไปยัง กำนันและสู่อำเภอแล้วทาง อำเภอจะประกาศให้มีคนคัดค้านซึ่งตอนนั้นประกาศไว้ที่อำเภอที่ที่ทำการกำนัน กำหนดไว้ประมาณ 10 วัน จากนั้นทางอำเภอก็ยื่นเรื่องให้ผู้ว่า ให้อนุมัติเป็นผู้ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน
ดอยหล่อ มีคนมาลงทะเบียนปัญหาที่ดินประมาณ 2600กว่า ราย โครงการนี้มีเป้าหมาย 905 ราย คนที่ได้รับการจัดสรรก็905 ราย แต่ปัญหาตรงที่ว่า 905 รายจะมีคนจนที่ไม่มีที่ดินทำกินจริงๆ ซักกี่ราย เพราะขั้นตอนของการคัดเลือก ยังคงเป็นของคณะกรรมการหมุ่บ้านซึ่งต้องมีระบบเส้นสายอยุ่แล้ว กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต คนกลุ่มนี้ของตายยังงัยก็ได้รับการจัดสรรที่ดิน แล้วไหนจะผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมที่หมู่บ้านหนึ่งมีอย่างน้อย 2 คน ไหนจะคณะกรรมการหมู่บ้านฝ่ายต่างๆอีกล่ะ หนึ่งหมู่บ้านจะมีครได้รับการจัดสรรประมาณ 14-20 คน ถ้านับคนกลุ่มข้างต้นเข้าไป จะเหลือโควต้าให้คนจนจริงๆ ประมาณ ไม่เกิน 10 คนด้วยซ้ำ ทั้งนี้กลัวคำครหาและการตรวจสอบ
ดังนั้น คนจน 905 ราย ถ้าตัดคนกลุ่มข้างบนออกก้จะมีคนจนจริงๆอย่างมาก ก็ 400-450ราย จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมภายหลังการจัดสรรที่ดินทำกินจึงมีการขายที่แบบเทน้ำเทท่า ปัจจุบันที่ดิน 905 แปลงประมาณ 700 แปลงถูกขายไปแล้ว ส่วนกลุ่มคนที่ซื้อก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ข้าราชการในกรมทีเกี่ยวข้อง นายทุนในพื้นที่ พวกพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงต่างๆ นายหน้า ก็คือ กลุ่มคนที่เป็นคนคัดเลือกทีดินนั่นแหละ เพราะคนกลุ่มนี้จะรู้ว่า ใครได้ที่บ้าง ใครมีศักยภาพที่จะลงทุนและรักษาที่ดินไว้ได้ ใครไม่มีและใครต้องการขาย ส่วนคนที่ขาย ก็คือคนจนจริงๆนั่นแหละ เพราะเขาไม่มีศักยภาพในการลงทุนในการเพาะปลูก ทั้งนี้ด้วยเงื่อนไขของสัญญาที่ยาวเยียดประมาณ 21ข้อได้ การสนับสนุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานจากรัฐเช่น แหล่งน้ำและไฟฟ้า ไม่มีเลย ดอยหล่อมีสภาพพื้นที่เป็นดอยอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างต่ำก็ 350 เมตร ชาวบ้านจะลงทุนเจาะน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ก็ประมาณ 100,000 บาทเบาะลงไปใต้ดินอย่างน้อยก็ 50 เมตร แล้วคนจนจริงๆจะเอาปัญญาที่ไหนมาทำ เนื้อที่ 3 ไร่ที่ได้รับการจัดสรร+สัญญาเช่า 3 ปี มันจะคุ้มรึเปล่าสุดท้ายก็ขายที่หรือไม่ก็มีการสร้างแนวโน้มและแรงงจูงใจอย่างอื่นให้ขายที่
ในประเด็นพื้นที่ที่มีการจัดสรร พื้นที่นี้เป็นที่ราชพัสดุเป็นของกระทรวงการคลัง แล้วให้ทหารหน่วยงานทหารพัฒนาภาค 3 เป็นคนดูแล เนื้อที่ที่ชาวบ้านเรียกว่าที่หลังกิ่ง(ภายหลังที่ชาวบ้านได้รับแจกชาวบ้านก็เรียกว่าที่ทักษิณบ้าง สวนทักษิณบ้าง )มีประมาณ 3000 ไร่ มีสภาพเป็นป่าแพะหรือป่าละเมาะ มีสภาพเป็นหิน ดินปนทราบ ดอยสูงตำสลับที่ราบ ซึ่งเนื้อที่ประมาณ 40 % ไม่เหมาะที่จะทำการเกษตร จึงเป็นที่เลี้ยงวัวควายของชาวบ้านและนายทุนในพื้นที่ซึ่งมีพ่อเลี้ยงวัว(พ่อค้าวัว,นายฮ้อยวัว)และเป็นที่หาของป่าของชาวบ้านเช่น เห็ด หรือสัตว์ป่าขนาดเล็ก เช่น แย้ นก งูสิงห์ กระแตและที่สำคัญสิ่งที่เป็นที่ขึ้นชื่อของชาวดอยหล่อ คือ กว่างชน หรือแมงกว่าง เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและแหล่งสร้างรายได้ขนาดเล็กให้กับชาวบ้าน ชาวบ้านทุกหมู่บ้านสามารถเข้ามาหาของป่า หาเห็ดและสัตว์ป่าแต่ภายหลังมีการจัดสรรพื้นที่ มีการล้อมรั้วตัดต้นไม้ขนาดใหญ่ ปลูกพืชใช้สารเคมี ชาวบ้านเก็บเห็ดก็ไม่ได้ หาของป่าก็ไม่ได้ เลี้ยงวัวควายก็ไม่ได้ คนที่ได้ประโยชน์ในพื้นที่แห่งนี้แน่นอนคือเกรมธนารักษ์หรือหลวง ต่อมาก็เป็นชาวบ้าน 905 ครอบครัวที่ได้รับการจัดสรร แต่สุดท้ายจริงๆคือ นายทุนไม่กี่กลุ่มที่เข้ามากว้านซื้อ แล้วชาวบ้านที่เหลือล่ะ อ.ดอยหล่อมีประชากร 27369 คนหรือ ประมาณ 7953 ครอบครัว ถ้าตัด 905 ครอบครัวที่ได้ที่ดินออกไป ชาวบ้านกว่า 7000 ครอบครัวแทบไม่ได้ประโยชน์อะไรจากที่ดินแปลงนี้เลย แล้วตอนนีเหลือคนที่ครอบครองที่ดินไม่กี่กลุ่มซึ่งเป็นคนจนทั้งนั้นแล้วชาวบ้านที่เหลือล่ะได้อะไร ผมว่าตรงนี้เป็นสิ่งที่น่าคิดนะ เอาที่ของคน65 ล้านคน ทั่วประเทศหรือถ้าแคบลงมาคือ เอาที่ของคน 7953 ครอบครัวที่เคยได้รับประโยชน์มาแจกให้คนจนจริงบ้างไม่จริงบ้างซ้ำยังให้สิทธิ์ชาวบ้านเหล่านี้เต็มตัวที่จะสงวนหวงห้ามการหาประโยชน์ในพื้นที่ เหลือคนที่ได้รับประโยชน์เป็นคนรวยไม่กี่คน มันยุติธรรมแล้วหรือ
มาดูที่เรื่องของสัญญา สัญญาที่ราชพัสดุ มีทั้งหมด 19 ข้อไล่ตั้งแต่เรื่องของคู่สัญญาจนถึง การสิ้นสุดของสัญญา แต่สิ่งที่น่าสังเกตุ คือ ในสัญญาฉบับนี้ได้ล็อกเป้าชาวบ้านอย่างชัดเจน
สัญญาเป็นสัญญาเช่าที่ราชพัสดุเพื่อการเกษตร ซึ่งในสัญญาระบุว่าเป็นพืชล้มลุกหรือพืชไร่ โดยรายละเอียดคร่าวๆคือ ในสัญญาเช่าที่ราชพัสดุ มีข้อตกลง ทั้งหมด 19 ข้อด้วยกัน ซึ่งพิจารณาข้อตกลงแล้ว เงื่อนไขหรือข้อตกลงส่วนใหญ่ขัดแย้ง กับสภาพความเป็นจริง เช่น ในข้อตกลงข้อ 5 บอกว่า ผู้เช่าจะไม่ทำการเปลี่ยนแปลง ขุดคูคลอง บ่อสระ หรือแหล่งขังน้ำใดๆ หรือตัดฟันต้นไม้ยืนต้นเว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากให้ผู้เช่า ทั้งๆที่ความเป็นจริงพื้นที่มีความแห้งแล้ง ใช้ประโยชน์ได้ในเฉพาะหน้าฝน อีกทั้งการไม่ให้มีการปลูกพืชยืนต้นทั้งๆที่ชาวบ้านในเขต กิ่ง อ.ดอยหล่อมีอาชีพทำสวนถึง 70 % แล้วชาวบ้านที่ไม่มีที่ดินทำกินของตนเองส่วนใหญ่รับจ้างในภาคการเกษตรเช่น ทำสวนลำไยจะปลูกอะไร ถ้าได้รับการจัดสรรที่ดินแล้ว
ข้อ 13 ผู้เช่า จะต้องทำการเกษตรตามที่ระบุไว้ในข้อที่ 1. ถ้าหากไม่ทำการเกษตรตามที่ระบุไว้ นับแต่วันที่ทำสัญญา ผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้
หากมองตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ด้วยสภาพพื้นที่ที่เป็นดอย ดินมีลักษณะปนทรายค่อนข้างสูงและมีลุกรังผสมประปราย มีต้นไม้ยืนต้นขึ้นกระจัดกระจายสลับต้นไม้ขนาดเล็ก สภาพพื้นที่มีความแห้งแล้ง ไม่มีการจัดสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้ มีเพียงบ่อ ขนาด ไม่เกิน 4 ไร่ ลึกประมาณ 3 เมตร อยู่4-5 บ่อ ซึ่งบางบ่อเป็นบ่อน้ำที่ใช้ร่วมกันของหมู่บ้านใกล้เคียง ในช่วงที่มีการแจกสัญญาเองเข้าหน้าฝนยังสามรถมองเห็นก้นบ่อได้ อีกทั้ง 2-3 บ่อเป็นบ่อที่อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ ดังนั้นต้องลงทุนอย่างมากที่จะนำน้ำขึ้นไปใช้ในที่สูงที่อยู่รอบพื้นที่ แล้วสมมุติว่าหากไม่มีการพัฒนาสาธารณูปโภคชาวบ้านจะทำประโยชน์ภายในหนึ่งปีได้อย่างไร คนจนจะแก้ไขปัญหาอย่างไรกับเรื่องเหล่านี้ ทั้งๆการลงทะเบียนคนจนคนที่มีรายได้ต่ำว่าครอบครัวละ 20,000 บาทต่อปีถึงจะเรียกว่าคนจน ซึ่งการลงทุนข้างต้นอย่างน้อย ต้องลงทุนไม่ต่ำว่า 30,000 บาทในการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำและต่อท่อขึ้นไปสู่แปลงและสิ่งที่ตามมาคือหากมีการลงทุนแล้วจะคุ้มหรือไม่กับระยะเวลา 3 ปีส่วนข้อตกลงอีกข้อซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของการแก้ไขปัญหาเรื่องความยากจนเรื่องที่ดิน คือเรื่องของสิทธิ์ในการเช่า ซึ่งในสัญญาข้อที่ 7 ระบุว่า ผู้เช่าจะไม่นำที่ดินที่เช่า ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เช่าช่วง หรือยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เช่าเป็นอันขาด เว้นจะได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน ซึ่งข้อนี้จะเป็นหลักประกันได้ว่าหากคนจนจริงๆที่ได้รับการจัดสรรเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
หากมองตามสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ด้วยสภาพพื้นที่ที่เป็นดอย ดินมีลักษณะปนทรายค่อนข้างสูงและมีลุกรังผสมประปราย มีต้นไม้ยืนต้นขึ้นกระจัดกระจายสลับต้นไม้ขนาดเล็ก สภาพพื้นที่มีความแห้งแล้ง ไม่มีการจัดสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้ มีเพียงบ่อ ขนาด ไม่เกิน 4 ไร่ ลึกประมาณ 3 เมตร อยู่4-5 บ่อ ซึ่งบางบ่อเป็นบ่อน้ำที่ใช้ร่วมกันของหมู่บ้านใกล้เคียง ในช่วงที่มีการแจกสัญญาเองเข้าหน้าฝนยังสามรถมองเห็นก้นบ่อได้ อีกทั้ง 2-3 บ่อเป็นบ่อที่อยู่ต่ำกว่าพื้นที่ ดังนั้นต้องลงทุนอย่างมากที่จะนำน้ำขึ้นไปใช้ในที่สูงที่อยู่รอบพื้นที่ แล้วสมมุติว่าหากไม่มีการพัฒนาสาธารณูปโภคชาวบ้านจะทำประโยชน์ภายในหนึ่งปีได้อย่างไร คนจนจะแก้ไขปัญหาอย่างไรกับเรื่องเหล่านี้ ทั้งๆการลงทะเบียนคนจนคนที่มีรายได้ต่ำว่าครอบครัวละ 20,000 บาทต่อปีถึงจะเรียกว่าคนจน ซึ่งการลงทุนข้างต้นอย่างน้อย ต้องลงทุนไม่ต่ำว่า 30,000 บาทในการจัดซื้อเครื่องสูบน้ำและต่อท่อขึ้นไปสู่แปลงและสิ่งที่ตามมาคือหากมีการลงทุนแล้วจะคุ้มหรือไม่กับระยะเวลา 3 ปีส่วนข้อตกลงอีกข้อซึ่งถือว่าเป็นหัวใจหลักของการแก้ไขปัญหาเรื่องความยากจนเรื่องที่ดิน คือเรื่องของสิทธิ์ในการเช่า ซึ่งในสัญญาข้อที่ 7 ระบุว่า ผู้เช่าจะไม่นำที่ดินที่เช่า ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้เช่าช่วง หรือยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เช่าเป็นอันขาด เว้นจะได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าก่อน ซึ่งข้อนี้จะเป็นหลักประกันได้ว่าหากคนจนจริงๆที่ได้รับการจัดสรรเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
และประเด็นสุดท้าย เรื่องการบริหารจัดการและเรื่องการตรวจสอบ ทั้งๆที่รู้ว่าสภาพพื้นที่เป็นป่า เป็นดอยเป็นหิน และแห้งแล้งแต่ทางกลับกันไม่มีการวางระบบสาธารณูปโภคให้ไม่ว่าจะเป็นระบบน้ำหรือไฟฟ้า มันจะปลูกพืชได้อย่างไร พืชอยู่ในน้ำได้ แต่พืชอยู่ใสนดินแต่ไม่มีน้ำไม่ได้ ผมไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้เป็นการสร้างเนื่องไขในการสร้างข้อจำกัดบีบให้ชาวบ้านขายที่ตั้งแต่แรกรึเปล่า หรือไม่ก็เป็นความโง่อย่างดักดานของคณะดำเนินงานของโครงการ
การตรวจสอบพื้นที่ ผมว่า ทางเจ้าหน้าที่ราชการเขารู้นะถ้าเขามีการตรวจสอบ เพราะรายชื่อของคนที่ได้รับสามารถตรวจสอบได้นี่ว่าคนจนรึเปล่า หรือเขาต้องการเพียงเพื่อทำให้มันเสร็จๆไป พื้นที่อยู่หลังกิ่งอำเภอไม่ถึง 2 กิโลเมตร ถ้าเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องการที่จะตรวจสอบจริง ตอนพักเที่ยงขี่มอเตอร์ไซค์ไปดูยังได้เลย ว่าพื้นที่นี้ใช้ประโยชน์อย่างไร และมีการครอบครองในปัจจุบันอย่างไร บางแปลงมีการล้อมรั้วผมลองขับรถแล้วดูไมล์ที่หน้าปัดรถ ความยาวของพื้นที่หน้าตัดที่ติดถนนเกือบ 300 เมตร เท่านี้มันก็รู้แล้วว่า มันเกินสามไร่ การล้อมรั้วแต่ละแปลงก็ไม่เท่ากัน มันก็เป็นตัวชี้วัดได้ว่าเนื้อที่มันมีการเปลี่ยนแปลง แล้วทำไมไม่ทำอะไร ยิ่งไปกว่านั้นบางแปลงกรมพัฒนาที่ดินขุดบ่อให้ ถึง 2 บ่อ โดยได้รับเงินสมทบจากชาวบ้าน กรมพัฒนาที่ดินเขาไม่ได้ประสานกับทางอำเภอหรือทางธนารักษ์รึยังไง ถึงได้มีการขุดบ่อในแปลงขนาดใหญ่เกือบ 21 ไร่ทั้งๆที่ดินตามสัญญากำหนดให้แต่3 ไร่
รีสอร์ท บ้านพักตากอากาศและสวนยางผุดกลางที่ราชพัสดุ ผมดูแล้วมันแปลกดีนะ นี่เป็นที่รัฐแจกให้คนจนไม่ใช่หรือ แล้วมีรีสอร์ทได้อย่างไร สวนยางเนื้อที่กว่า 60 ไร่มาจากไหน นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงแต่เจ้าหน้าที่หรือส่วนที่เกี่ยวข้องกลับปิดหูปิดตาตนเอง ไม่รู้ไม่เห็น
ก่อนจบผมอยากให้ ลองไปถามชาวบ้านกลุ่มปฏิรุปที่ดินโดยชุมชนบ้านดอยหล่อ ดูว่า ในปี 2523 เกิดอะไรขึ้นกับหมู่บ้านของเขาที่ดินหน้ากิ่งอ.ดอยหล่อกว่า 500 ไร่ซึ่งเป็นที่สาธารณะ ถูกแปลงเป็นโฉนด ของคนคนเดียว ในวันเดียว เดือนเดียว ปีเดียว โดยอ้างชื่อคนที่มีไม่ตัวตนขายให้ แล้วคนที่มีชื่อในโฉนดไม่ใช่ใครที่ไหนเป็นคนที่ มีนามสกุลอ่านเหมือนกับนามสกุลเจ้าของนโยบายนี้นั่นเอง มันเจ็บปวดนะ
No comments:
Post a Comment